Monthly Archives: February 2013

เกาะ

เกาะ (อังกฤษ: island) เป็นพื้นดินที่ล้อมรอบด้วยน้ำ มีขนาดเล็กกว่าทวีป อาจอยู่ในมหาสมุทร ทะเล ทะเลสาบ หรือแม่น้ำ เกาะขนาดเล็กเรียกว่า เกาะเล็ก (isle) ซึ่งรวมถึงอะทอลล์ (atoll) หรือ เกาะปะการังวงแหวน และ เกาะปริ่มน้ำ (key หรือ cay) ที่เป็นเกาะขนาดเล็กโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นน้ำ เกาะหลายเกาะที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า กลุ่มเกาะ (archipelago)

อาจแบ่งเกาะได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เกาะริมทวีป (continental island) เกาะแม่น้ำ (river island) และ เกาะภูเขาไฟ (volcanic island) นอกจากนี้ยังมีเกาะเทียม(artificial island) ที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์

ไฟล์:Island.jpg

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0

 

พระบรมรูปทรงม้า

พระบรมรูปทรงม้า

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมรูปทรงม้า ตั้งอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยนำแบบอย่างมาจากพระบรมรูปของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14แห่งฝรั่งเศส ที่กรุงปารีส ด้วยฝีมือนายช่างชาวฝรั่งเศส บริษัท ซุซเซอร์ เฟรสฟอร์เดอร์ ในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2450

พระองค์เสด็จประทับ ให้ช่างปั้นชื่อ จอร์จ เซาโล ปั้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2450 พระบรมรูปสำเร็จเรียบร้อยส่งเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2451 อันเป็น เวลาพอดีกับงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ 40 ปี เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองหน้าพระราชวังดุสิต โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง

พระบรมรูปทรงม้าสร้างขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนได้เรี่ยไรสมทบทุน ส่วนเงินที่เหลือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้นำไปสร้างมหาวิทยาลัยขึ้น มีนามตามพระปรมาภิไธยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำหรับองค์พระบรมรูปทรงม้านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปทำการตกลงและเลือกชนิดโลหะด้วยพระองค์เอง อีกทั้งยังเสด็จไปประทับเป็นแบบให้นายช่างปั้นหุ่น ขณะเสด็จประทับอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพระรูปมีขนาดโตเท่าพระองค์จริง เสด็จประทับอยู่บนหลังม้าพระที่นั่ง โดยม้าพระที่นั่งนั้นมิใช่ปั้นจากแบบม้าพระที่นั่งจริง แต่เป็นม้าที่บริษัทได้ปั้นเป็นแบบเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว พระบรมรูปทรงม้าหล่อด้วยโลหะทองบรอนซ์ ยึดติดกับแท่นทองบรอนซ์ เป็นที่ม้ายืน หนาประมาณ 25 เซนติเมตร ประดิษฐานบนแท่นรอง ทำด้วยหินอ่อน สูง 6 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 5 เมตร ห่างจากฐานของแท่นออกมา มีโซ่ขึงล้อมรอบกว้าง 9 เมตร ยาว 11 เมตร ตรงฐานด้านขวามีอักษรฝรั่งเศสจารึกชื่อช่างปั้นและช่างหล่อชาวไว้ว่า C.MASSON SEULP 1980 และ G.Paupg Statuare และด้านซ้ายเป็นชื่อบริษัทที่ทำการหล่อพระบรมรูปทรงม้าว่า SUSSF Fres FONDEURS. PARIS สำหรับแท่นศิลาอ่อนด้านหน้า มีแผ่นโลหะจารึกอักษรไทย ติดประดับแสดงพระบรมราชประวัติและพระเกียรติคุณ ลงท้ายด้วยคำถวายพระพรให้ทรงดำรงราชสมบัติอยู่ยืนนาน

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%B2

 

อนุสาวรีย์สุนทรภู่

อนุสาวรีย์สุนทรภู่

อนุสาวรีย์สุนทรภู่ เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่มหากวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พระสุนทรโวหาร (ภู่) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า สุนทรภู่ ตั้งอยู่บนเส้นทาง แกลง-แหลมแม่พิมพ์ ที่ ต.บ้านกร่ำ อ.แกลง จ.ระยอง ซึ่งเชื่อว่าเป็นบ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และท่านเคยมาเยือนที่นี้เมื่อครั้งวัยหนุ่ม พร้อมกับได้ประพันธ์ นิราศเมืองแกลง เอาไว้ด้วย พื้นที่อนุสาวรีย์มีรูปปั้นของสุนทรภู่ตั้งอยู่ตรงกลางเป็นประธานบนเนินสูง ด้านล่างเป็นบ่อน้ำ มีประติมากรรมรูปปั้นหล่อของตัวละครในวรรณกรรมเอกของสุนทรภู่ เรื่อง พระอภัยมณีประดับอยู่ 3 ตัว ได้แก่ พระอภัยมณี นางผีเสื้อสมุทร และนางเงือก ออกแบบโดยศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี

อนุสาวรีย์สุนทรภู่ มีอาณาบริเวณ 8.5 ไร่ เริ่มวางศิลาฤกษ์ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2498 โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในยุคนั้น แต่งานก่อสร้างค้างเติ่งไปเป็นเวลาร่วมสิบปี จนถึงปี พ.ศ. 2511 ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองในยุคนั้นคือ นายวิทยา เกษรเสาวภาค เปิดรับบริจาคเงินทั่วประเทศได้เป็นจำนวน 962,776.10 บาท งานก่อสร้างจึงได้ดำเนินต่อ มีพิธีเททองที่รูปหล่อที่กรมศิลปากรเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 และนำไปติดตั้งจนเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2513 มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2513

ประติมากรผู้ปั้นรูปหล่อในอนุสาวรีย์ ประกอบด้วย

  1. อาจารย์สุกิจ ลายเดช เป็นผู้ปั้นสุนทรภู่
  2. อาจารย์ไกรสร ศรีสุวรรณ เป็นผู้ปั้นพระอภัยมณี
  3. อาจารย์สาโรช จารักษ์ เป็นผู้ปั้นนางเงือก
  4. อาจารย์ธนะ เลาหกัยกุล เป็นผู้ปั้นผีเสื้อสมุทร

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%88

พระอนุสาวรีย์เจ้าหลวงบุญวาทย์วงศ์มานิต

พระอนุสาวรีย์เจ้าหลวงบุญวาทย์วงศ์มานิต

พระอนุสาวรีย์เจ้าหลวงบุญวาทย์วงศ์มานิต เป็นพระอนุสาวรีย์ของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13 ครองนครในระหว่างปี พ.ศ. 2440 ถึงปี พ.ศ. 2465 เป็นเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากสยามประเทศ พระอนุสาวรีย์ ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2521

ด้วยความปรารถนาจะสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อเทิดพระเกียรติ พลโท เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2516 สมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ร่วมกับโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ได้เห็นชอบให้จัดสร้างพระอนุสาวรีย์ พลโท เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ขึ้น เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและสักการบูชา เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่านผู้สถาปนาโรงเรียน

ต่อมาเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2517 ได้จัดทำเหรียญพ่อเจ้าบุญวาทย์ฯ ให้ประชาชนชาวลำปาง เช่าบูชา โดยกราบนิมนต์ ครูบาเจ้า หลวงพ่อเกษม เขมโก แห่งสุสานไตรลักษณ์แผ่เมตตาปลุกเสก โดยผ่านการติดต่อประสานงานทาง เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง และเจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ครูบาเจ้าหลวงพ่อเกษม เขมโก ได้มอบทุนจำนวน 400,000 บาท โดยกำหนดวัตถุประสงค์ว่าให้เป็นทุนสำหรับการสร้างพระอนุสาวรีย์ 200,000 บาท และสร้างอาคารสมาคม 200,000 บาท

กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ได้เป็นผู้ออกแบบและปั้นพระอนุสาวรีย์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ได้ทรงเป็นประธานเททองหล่อ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ฐานอนุสาวรีย์และอัญเชิญพระอนุสาวรีย์ ขึ้นประดิษฐาน เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 และได้กระทำพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95

 

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสาวรีย์ในกรุงเทพมหานคร โดยรอบเป็นวงเวียนอยู่กึ่งกลางระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนราชวิถี และถนนพญาไท ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 5.0 ถนนพหลโยธิน โดยที่ กม. 0 ของถนนพหลโยธินอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยซึ่งอยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร

Bangkok Victory Monument (12.31.2012).jpg.jpeg

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4

 

ท้าวสุรนารี

ท้าวสุรนารี

ท้าวสุรนารีคุณหญิงโม (ต้นฉบับว่า คุณหญิงโม้) หรือ ย่าโม (พ.ศ. 2314 — พ.ศ. 2395) บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะวีรสตรีผู้มีส่วนกอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์เวียงจันทน์ เมื่อปี พ.ศ. 2369

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นผลงานการออกแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล อันเป็นแบบที่ชนะการประกวดการออกแบบอนุสาวรีย์แห่งนี้ การออกแบบได้นำสถาปัตยกรรมแบบไทยมาผสมผสาน ตรงกลางเป็นสมุดไทยที่สื่อถึงรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า นอกจากการเป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงประชาธิปไตยนั้น อนุสาวรีย์แห่งนี้ ยังเป็นหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ของกรุงเทพมหานครและประเทศไทยอีกด้วย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้ใช้เป็นพื้นที่สำคัญของการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้ง อาทิ การชุมนุมของประชาชนและนักศึกษาใน เหตุการณ์ 14 ตุลา, การชุมนุมของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เป็นต้น

Democracy monument.jpg

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2